เลขที่ 2 ซ.ประดิพัทธ์ 15​ ​ถนนประประดิพัทธ์ พญาไท กรุงเทพฯ 10400 เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 19.00 น. 098-9824658 / LINE @Medtopia

Melatonin

Melatonin (ฮอร์โมนเมลาโทนิน)

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่สร้างต่อมไพเนียล ซึ่งจะหลั่งเมื่อไม่มีแสงสว่างในช่วงเวลากลางคืน โดยปกติจะเริ่มหลั่งน้อยๆตั้งแต่ 20.00 น. และหลั่งมากขึ้นในช่วง 21.00-22.00 น. ต่อมไพเนียลจะหลั่งเมลาโทนินน้อยลงเรื่อยๆตั้งแต่ประมาณ 02.00 น. โดยฮอร์โมนเมลาโทนินที่หลั่งออกมาแล้วจะคงอยู่ในร่างกายได้ประมาณ 12 ชั่วโมง และค่อยๆหายไปในตอนเช้า พร้อมกับพระอาทิตย์ขึ้น

ฮอร์โมนเมลาโทนินมีบทบาทสำคัญในการควบคุมนาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) ซึ่งเป็นตัวกำหนดการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายตลอดทั้งวัน เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนโดยตรง หากเมลาโทนินมีปริมาณสูงเพียงพอในเวลาที่เหมาะสมจะทำให้เราสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น ยาวนานขึ้น และนอนได้อย่างมีคุณภาพ

นอกจากควบคุมการนอนแล้ว เมลาโทนินยังสามารถไล่จับสารอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบภายในร่างกาย ช่วยปรับการทำงานของภูมิคุ้มกัน ลดการกลายพันธุ์ของเซลล์มะเร็ง ลดการสลายกระดูก และในงานวิจัยยังพบว่าการใช้เมลาโทนินต่อเนื่องระยะยาวยังสามารถลดโอกาสการเกิดโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ จากการกลายพันธุ์ของพันธุกรรม ApoE4 ได้ด้วย

การเลือกใช้เมลาโทนิน มีหลายรูปแบบทั้งเม็ดกลืน อมใต้ลิ้น สเปรย์ใต้ลิ้น และครีมทาผิว โดยรูปแบบที่หาซื้อง่ายที่สุดแต่การออกฤทธิ์ต่ำสุดคือแบบเม็ดกลืน ส่วนรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด ใช้ปริมาณฮอร์โมนน้อยสุด แต่หาซื้อลำบาก คือแบบอมใต้ลิ้น

Our Section